fbpx

Ford RMA

เช็คสภาพผ้าเบรกอย่างไรให้ยืดอายุการใช้งาน

เช็คสภาพผ้าเบรกอย่างไรให้ยืดอายุการใช้งาน

เมื่อใช้รถได้ระยะหนึ่ง ผ้าเบรกเป็นอีกสิ่งที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากผ้าเบรกคือกลไกที่สำคัญในระบบเบรก ซึ่งทำให้ระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์และคงไว้ซึ่งความปลอดภัยบนท้องถนน ผ้าเบรก คือ อุปกรณ์สร้างความเสียดทานโดยการกดเข้ากับดิสก์ หลังจากนั้นจะเริ่มช่วยชะลอความเร็วของตัวรถลง แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรหล่ะ? ว่าการทำงานของผ้าเบรกเริ่มสึกหรอหรือทำงานไม่ปกติ ด้วยความเทคโนโลยียานยนต์อัจฉะริยะทำให้เมื่อเกิดการทำงานที่ผิดปกติ ระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังหน้าปัดว่าเกิดความผิดปกติแล้วแหละ ให้รีบนำรถไปศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คความผิดปกตินั้น

เช็คสภาพผ้าเบรกอย่างไรให้ยืดอายุการใช้งาน

ควรเปลี่ยนผ้าเบรกตอนไหน? 

นอกจากที่จะรอให้ระบบรถแจ้งเตือนไปยังหน้าปัดแล้ว ยังมีอีกวิธีง่ายๆ ที่สามารถนับระยะเวลาการเปลี่ยนผ้าเบรก โดยทั่วไปแล้วเป็นที่รู้กันว่ามาตรฐานเช็คสภาพผ้าเบรกมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน/ครั้ง หรือระยะทาง 8,000-15,000  กม./ครั้ง ซึ่งในการตรวจเช็คสภาพผ้าเบรกนั้น อาจจะต้องเปลี่ยนหรือไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาสภาพผ้าเบรคจากช่างผู้ชำนาญการ แต่โดยทั่วไปแล้วตามประสาคนที่ขับรถเป็นประจำมักรับรู้ได้ถึงความิดปกติของรถ บางครั้งอาจจะลืมจำระยะทางที่นับตั้งแต่ต้น สามารถสังเกตอาการความผิดปกติของรถได้ดังนี้

  • จังหวะการเบรกผิดปกติไปจากเดิม พฤติกรรมการแตะคันเบรคมีระยะที่ลึกขึ้นกว่าเดิม จากปกติแค่เพียงเหยียบเบาๆ รถก็สามารถเบรคได้อย่างทัรควัน แต่ถ้าวันไหนจู่ๆ เหยียบเบรคในระยะความลึกเดิมแล้วรถก็ยังไม่เบรคให้ นั่นคือสัญญาณเตือนเบื้องต้นว่าผ้าเบรคกำลังมีอายุการใช้งานที่เริ่มถดถอยลงหรือเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
  • ดึงเบรคมือสูงขึ้น ต่อเนื่องจากระยะการเหยียบเบรคที่ลึกขึ้น การดึงเบรคมือสูงขึ้นจากเดิมถือว่าเป็นสัญญาณเตือนได้เช่นเดียวกัน เพราะระบบเบรคแต่ละองค์ประกอบจะทำงานอย่างสัมพันธ์กัน การที่เบรคมือสามารถดึงได้สูงกว่าปกตินั้นแปลว่าผ้าเบรคเริ่มสึกแล้ว และถึงเวลาที่ควรนำรถไปเช็กสภาพผ้าเบรคตามศูนย์บริการที่มั่นใจ
  • เกิดเสียงในขณะเบรก การทำงานของระบบเบรคโดยปกติแล้วจะไม่มีเสียงรบกวนคนขับ แต่ถ้าจู่ๆ เกิดเสียงเอี๊ยดอ๊าดตอนเหยียบเบรคนั้น แสดงว่าระบบเบรคกำลังทำงานผิดปกติไปจากเดิม ตามภาษาช่างจะเรียกอาการดังกล่าวแบบนี้ว่า ‘ผ้าเบรกบาง’ ด้วยความบางของผ้าเบรคนั่นเองที่เป็นตัวการในการส่งเสียงผิดปกติตอนเบรค
  • หมั่นตรวจเช็คน้ำมันเบรกเป็นประจำ เมื่อระดับน้ำมันเบรคลดลงกว่าเดิม แสดงว่าผ้าเบรคเสื่อมสภาพลงทำให้ระบบเบรคต้องดึงน้ำมันเบรคมาใช้มากกว่าปกติ เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องหมั่นตรวจสอบและจดบันทึกระดับน้ำมันเบรคอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจจะทำการสำรวจผ้าเบรคร่มด้วยก็ได้
  • บริเวณจานเบรกมีรอบขีดข่วนเป็นเส้นๆ อาการดังกล่าวแบบนี้ทำให้จานเบรคเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อการใช้งานในอนาคต ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดมาจากการที่ผ้าเบรคบางมากจนทำให้เกิดรอยได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือ ควรเปลี่ยนผ้าเบรคและเจียจานเบรคให้คงสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิม

ขั้นตอนการเช็คสภาพผ้าเบรกจากศูนย์บริการ FORD RMA

ศูนย์บริการ FORD RMA มีความพร้อมในการให้บริการจากทีมงานช่างระดับมืออาชีพ มีมาตรฐานในขั้นตอนการดำเนินงาน ใส่ใจทุกรายละเอียด เพราะความปลอดภัยของลูกค้าคือหัวใจสำคัญของ FORD RMA  โดยการเช็คสภาพผ้าเบรกนั้นจะต้องทำการถอดล้อทั้ง 4 ออกเสียก่อน เพื่อทำการวัดความหน้าของผ้าเบรกกับอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูง หลังจากที่ทีมช่างได้ทำการถอดล้อออกมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปในการเช็คสภาพผ้าเบรก คือ

  •  เช็คความหนาของผ้าเบรก 
  • ตรวจวัดความบิดบิดเบี้ยวของจานเบรก
  • ถอดทำความสะอาดของผ้าเบรกและจานเบรก
  • วัดปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่เหลือและเติมน้ำมันหล่อลื่น
  • ทำความสะอาดจานเบรกด้วยน้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก
  • ประกอบล้อรถกลับ และทดสอบการทำงานของระบบเบรก

การเลือกศูนย์บริการที่ไว้ใจได้ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะแต่ละที่มีมาตรฐานในการตรวจเช็คค่าบริการที่แตกต่างกัน และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด ฉะนั้นในการเลือกศูนย์บริการก็อย่าลืมศูนย์ที่ไว้ใจได้ มีรีวิวดี มีทีมช่างคุณภาพพร้อมให้บริการ

ระบบเบรกที่มีทั้งหมดกี่ชนิด?

อุตสาหกรรมยานยนต์พัฒนาตนตามกาลเวลาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบเบรกแบบเดิมกลายเป็นเรื่องล้าหลังไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันระบบเบรกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างกว้างขวางคือ แบบดรัมเบรก และแบบดิสเบรก เพราะระบบเบรกของรถทุกคันบนท้องถนนทำงานด้วยระบบไฮโดรลิก มีความปลอดภัยสูงและยืดอายุการใช้งาน

  • ระบบเบรกแบบดรัมเบรก (Drum Brake) เบรกชนิดนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อก้ามเบรกเสียดสีกับตัวเบรกอย่างสมบูรณ์แบบ และเมื่อระบบเบรกได้รับการเสียดสีอย่างสมบูรณ์แบบนั้นจะส่งแรงหยุดไปยังล้อ สามารถหยุดรถได้เร็วเมื่อจะเหยียบไปที่คันเบรกอย่างเบาแรง แต่ต้องระวังในเรื่องของความร้อนสูงหากเหยียดเบรกบ่อยครั้ง เพราะว่าก้ามเบรกเสียดสีกับตัวเบรกขณะเบรก ทำไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีในบางครั้ง โดยทั่วไปแล้วระบบดรัมเบรกนิยมใช้ในวงการรถบรรทุกมากกว่ารถทั่วไป
  • ระบบเบรกแบบดิสก์เบรก (Disc Brake) นิยมใช้สำหรับรถยนต์ทั่วไป เนื่องจากการทำงานของดิสก์เบรกไม่ค่อยยุ่งยากเท่าไหร่ ด้วยการทำงานแบบดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกเพื่อให้รถหยุด สามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบรก และยังสามารถสลัดน้ำได้ดีกว่า แต่ในทางการใช้งานค่อนข้างตรงข้ามกับดรัมเบรก อาจจะต้องใช้แรงเหยียบเบรกมากกว่านิดหน่อย 

ผ้าเบรกมีทั้งหมดมีกี่ชนิด?

ทั่วไปแล้วผ้าเบรกมีอยู่มากมายหลากหลายชนิด แต่ท่นำเข้ามาขายในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 5 ประเภท (Abestos ไม่นิยมใช้แล้ว) โดยแบ่งแยกตามประเภทของวัสดุที่จัดทำขึ้นมา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานควบคู่กับระบบเบรก ซึ่งผ้าเบรกแต่ละชนิดก็จะมีข้อดี ข้อเสีย ราคาที่แตกต่างกันไป และจุดประสงค์ในการใช้งานรถแต่ละชนิด 

  • ผ้าเบรกชนิด Abestos หรือ ผ้าเบรกแร่ใยหิน นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามท้องตลาด แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เพราะว่าผ้าเบรกชนิดนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพมลภาวะทางอากาศ 
    • ข้อดี
      • เหมาะกับการใช้งานในรถยนต์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ความเร็วสูงมากนัก
      • ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง 
      • ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย สะดวก
      • เวลาเบรกจะมีความนุ่มนวลมากกว่าผ้าเบรกชนิดอื่น
    • ข้อเสีย
      • ผ้าเบรกอาจจะมีเศษฝุ่น หรือเขม่าสีขาวเร็ดรอดออดมาบ้าง
      • ไม่เหมาะกับการใช้รถที่มีลักษณะความเร็วสูง เนื่องจากผ้าเบรกสามารถสะสมความร้อนได้ดีกว่าใครเพื่อน
      • ปัจจุบันไม่ค่อยมีขายแล้ว เนื่องจากผ้าเบรกชนิดนี้ส่งผลเสียต่อมลภาวะทางอากาศ 
  • ผ้าเบรกชนิด Semi-metallic หรือเนื้อกึ่งโลหะ ผสมสาร metallic แทนสาร asbestos ลงไปในผ้าเบรก ประกอบด้วยเส้นใยสังเคราะห์ NAO, เหล็กกล้า, เหล็ก, ทองแดง และโลหะชนิดอื่นๆ
    • ข้อดี
      • เหมาะสำหรับรถที่ใช้เร็วสูงๆ และเบรกบ่อยครั้ง
      • รองรับการทนความร้อนที่สูงกว่าผ้าเบรคชนิด Abestos
      • ผ้าเบรกมีความทนทานสูง
      • เหมาะกับรถบรรทุก , รถตู้, รถบัส, รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) หรือรถที่ขับขึ้นลงภูเขาเป็นประจำ
    • ข้อเสีย
      • ผ้าเบรกจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อมีความร้อนสะสมมาระยะหนึ่งก่อนหน้านั้นแล้ว
      • สามารถสร้างริ้วรอยให้กับจานเบรกได้
      • ในการเบรกบางครั้งผ้าเบรกชนิดนี้อาจจะส่งเสียงบ้าง
  • ผ้าเบรกชนิด NON ASBESTOS ORGANIC หรือผ้าเบรกเนื้ออินทรีย์ ประกอบด้วยเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ ได้แก่ เส้นใยเคฟลาร์, เส้นใยเซรามิก, ยาง, แก้ว ฯลฯ เชื่อมต่อกับเรซิน 
    • ข้อดี
      • ส่วนผสมอินทรีย์ทำให้จานเบรกมีน้ำหนักเบา
      • ทนทานต่อแรงเสียดทานขณะเบรก
      • ลดการเกิดฝุ่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
      • ราคาถูก ไม่ทำให้จานเบรกเป็นรอย
      • เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้ความเร็วสูง หรือ CITY CAR ทั่วไป
    • ข้อเสีย
      • ไม่ค่อยทนทานต่ออุณหภูมิความร้อนเท่าไหร่
      • ค่อนข้างใช้เวลาในการคลายความร้อน
      • อายุการใช้งานไม่มากเท่าไหร่
      • บางยี่ห้ออาจจะก่อให้เกิดเขม่าสีดำที่บริเวณล้อได้
  • ผ้าเบรกชนิด Fully Metallic Material หรือผ้าเบรกใยเหล็ก แค่ชื่อก็เห็นรู้เลยว่า ‘แข็งแกร่ง’ มีธาตุกราไฟต์เป็นส่วนประกอบหลัก จุดเด่นของผ้าเบรคชนิดนี้คือสามารถลบได้อย่างทันทีทันใด
    • ข้อดี
      • ทนทานความร้อนได้สูงมาก
      • ระบบเบรคทำงานได้อย่างมีประสทธิภาพสูง
      • เหมาะสำหรับรถที่ใช้ความเร็วสูง 
      • ระบายความร้อนได้ดีกว่าผ้าเบรคชนิดอื่น 
    • ข้อเสีย
      • บางครั้งอาจส่งเสียงขณะเบรก ทั้งๆ ที่เพิ่งเปลี่ยนมาใหม่
      • ราคาค่อนข้างแพง 
      • ด้วยส่วนผสมที่ผลิตจากธาตุกราไฟท์ ทำให้จานเบรคอาจมีรอยบ้าง 
  • ผ้าเบรกชนิด Ceramic หรือเซรามิก นวัตกรรมผ้าบรกใหม่ล่าสุดที่พึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในวงการผ้าเบรก มีส่วนผสมที่ทำมาจากแก้วและโลหะบางชนิด 
    • ข้อดี
      • ประสิทธิภาพการเบรกที่สูงที่สุด
      • ทนทานความร้อนได้สูง 
      • อายุการใช้งานของผ้าเบรคชนิดนี้จะยาวนานกว่าชนิดอื่นๆ 
      • ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 
    • ข้อเสีย
      • อาจจะทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพในช่วงที่มีอากาศเย็น 
      • ราคาสูงที่สุดในกลุ่มผ้าเบรค 
      • ระบายความร้อนไม่ค่อยดีเท่าไหร่

HOW TO ปรับพฤติกรรมยืดอายุผ้าเบรก

พฤติกรรมบางพฤติกรรมสามารถส่งผลเสียให้กับผ้าเบรคมีอายุสั้นลงได้ นอกจากที่พักเบรคจะมีระยะการใช้งานอย่างจำกัดแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้ผ้าเบรคมีการสึกกร่อนที่ไวขึ้นคือพฤติกรรมของคนขับ รักษาระยะห่างจากรถคันข้างหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเบรกฉุกเฉิน โดนพฤติกรรมทั่วไปแล้วเวลาคนเราตกใจมักจะเหยียบเบรคสุดแรง พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลเสียต่อผ้าเบรคเป็นอย่างมาก พฤติกรรมข้างล่างนี้เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของผ้าเบรคให้ยาวนานยิ่งขึ้น

  • ไม่จำเป็นต้องขับรถเร็วจนทำให้ต้องเหยียบเบรกบ่อยครั้งจนเกินเหตุ
  • เช็คลมอย่างอย่าน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากระบบเบรคจะทำงานสัมพันธ์กับยาง เพื่อรองรับแรงกระแทกและน้ำหนักของตัวรถทั้งหมด
  • หมั่นสังเกตการทำงานของระบบเบรคว่าปกติหรือไม่ มีเสียงเอี๊ยดอ๊าดขณะเบรกหรือไม่
  • เวลาล้างรถแบบลืมฉีดน้ำไปยังจานเบรค เพราะว่าคาบฝุ่นที่ฝังแน่นสามารถส่งผมต่อการทำงานของผ้าเบรคได้
  • ตรวจเช็คน้ำมันเบรคตามกำหนดระยะเวลาของศูนย์บริการอย่างเป็นประจำ ทุกๆ 1 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร
  •  หาเวลาว่างเพื่อนำรถไปตรวจเช็คผ้าเบรคในทุกๆ 3 เดือน หรือ การใช้งาน 10000 กิโลเมตร

ถ้าลองคำนึงถึงความปลอดภัยบนท้องถนนแล้ว ผ้าเบรคคือส่วนหนึ่งของรถที่ควรให้ความสำคัญมากเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าเบรคแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าเบรคตามการใช้งาน ซึ่งก็จะมีเรทราคาอยู่ที่ 600 จนถึง 2,000 บาท เนื่องจากในขณะทุกวันที่เราขับรถนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไม่เคยเหยียบเบรค แน่นอนว่าอายุของผ้าเบรคขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับรถและพื้นที่การใช้งานเป็นประจำ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่ออายุการใช้งานเป็นอย่างมาก หากระบบเบรคมีการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม ตั้งสติ หาเวลาว่าง แล้วพารถของคุณไปยังศูนย์บริการที่ไว้ใจเพื่อรีบเช็คสภาพผ้าเบรก เพราะผ้าเบรคสำคัญต่อระบบเบรคและชีวิตเป็นอย่างมาก


ขอบคุณข้อมูล : www.grandprix.co.th/ , www.ridebuster.com/ , www.compact-brake.com/

——————— Ford RMA ยินดีให้บริการ ———————


ติดต่อรับรถเข้าศูนย์บริการ : 02-407-0999
ID Line : @fordrma.th
Link LINE : https://lin.ee/mmPcYDU
ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : 02-416-1555
ฟอร์ดพระราม4 : 02-713-6000
ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : 02-432-6599
Google Map ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : https://g.page/FordKalpapruek?share
Google Map ฟอร์ดอาร์เอ็มเอ สาขาพระราม 4 : https://g.page/FordRama4RMA?share
Google Map ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : https://g.page/fordrama5?share
Facebook : https://www.facebook.com/Cityfordrma/
Website : https://www.fordrma.com/

ลงทะเบียนรับส่วนลด

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า
    Chat with us!
    Instagram