หยุดเป็นเหยื่อ! โดนโกงออนไลน์ แจ้งความทันได้เงินคืน
ตายแล้ว! โอนเงินซื้อของไปแล้ว แต่คนขายยังไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ความรู้สึกเหมือนจะโดนโกงซะจนได้ แต่จะทำอย่างไรดีหล่ะ เพื่อให้เราได้เงินคืนมาทุกบาททุกสตางค์ รวมไปถึงให้มิจฉาชีพนั้นได้รับบทลงโทษ แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันการโดนโกงออนไลน์ไม่ได้มีแค่ไม่ส่งของ ยังมีอีกหลายเคสที่เข้าข่ายการฉ้อโกง ผู้เสียหายสามารถรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความเอาผิดได้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้มาก่อน ไม่อยากเสียเวลา ไม่อยากทำให้เป็นเรื่องใหญ่จึงไม่เข้าแจ้งความดำเนินคดี จึงเกิดเหตุการณ์โกงแบบนี้ซ้ำรอยอย่างวนไปวนมา
อะไร คือ การฉ้อโกง
ฉ้อโกง คือ ความผิดที่มุ่งครอบครองทรัพย์สินของผู้ถูกหลอก ผ่านการแสดงข้อความที่เป็นเท็จ ปกปิด หรือบิดเบือนจากความจริง โดยมิจฉาชีพนั้นจะต้องมีพฤติกรรม หรือเจตนาหลอกลวงตั้งแต่แรกอยู่แล้ว อาจจะรวมไปถึงบุคคลที่สามที่กระทำกันเป็นกระบวนการ ซึ่งการฉ้อโกงนั้นมีความผิดตามกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ พูดง่าย ๆ คือ การโกงออนไลน์โดยเจตนานั่นเอง
รูปแบบฉ้อโกงออนไลน์มีอะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน ผู้เสียหายจากโดนโกงออนไลน์ไม่ได้มีแค่ ‘โอนแล้วไม่ส่งของ’ หรือ ‘โอนแล้วหายเงียบ’ แต่ยังมีรูปแบบการโกงอีกหลากหลายประเภท ซึ่งเราในฐานะผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจความผิดในฐานฉ้อโกงนี้ไว้ เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้กับคนอื่นต่อไป
- จ่ายเงินมัดจำ Pre – Order สินค้าล้ว แต่ไม่ได้รับสินค้าตามที่กำหนด
- สินค้าฟรี แต่ต้องออกค่าส่งเอง เมื่อโอนค่าส่งของไปแล้ว กลับไม่ได้รับของตามที่ตกลงไว้
- สินค้าแบรนด์เนมปลอม ซึ่งตอนโพสต์ขายระบุไว้ว่าสินค้านั้น คือ ของแท้
- ใช้กลยุทธ์จำนวนสินค้ามีน้อย ‘ช้าหมดอดด้วยไม่รู้นะ หรือ กำลังมีผู้สนใจจำนวนมาก’ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภครีบโอนเงิน
- หลอกให้รับงานกลับไปทำที่บ้านค่าตอบแทนสูง โดยต้องเสียค่าของ หรือสมัครสมาชิกก่อน เมื่อต้องการส่งงานคืน มิจฉาชีพอาจจะแจ้งว่าสินค่านั้นไม่ผ่านมาตรฐาน
- ออมเงินกับทางร้าน เพื่อผ่อนชำระ โดยวิธีการนี้เรามักเห็นผ่านทาง Instagram บ่อยที่สุด ส่วนมากมักเป็นสินค้าตามกระแสที่ราคาค่อนข้างสูง จึงต้องทำการผ่อนกับทางร้าน
- โดนสวมรอยปอมเป็นร้านค้า เคสนี้มักเกิดได้บ่อยกับสินค้า Live สด ซึ่งมิจฉาชีพจะรอดูจากใน Live และทักผู้บริโภคไปเพื่อสรุปยอด หรือปลอมเป็นคนรู้จักแล้วทักไปขอยืมเงิน
- สินค้าตกค้างที่ด่านกรมศุลฯ ต้องชำระค่าธรรมเนียมนำเข้าก่อน แต่ยังไม่ได้รับใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ (ใบเขียว)
- ซีเอฟมาแล้ว ทางร้านก็ส่งของเป็นปกติ แต่สินค้าไม่ตรงปก หรือสินค้าปลอม
- แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัทใหญ่ หรือสินค้าหลุดคิวซี หรือสินค้าหลุดจำนำ เมื่อโอนแล้ว หนีเงียบกริบ
- ขายสินค้าที่กำลังตกเป็นความต้องการสูงของตลาดช่วงนั้นอยู่ และมีการขายเกินกว่าราคากลางหลายเท่าตัว
- โดนโกงเหรียญดิจิทัลไม่จำกัดตระกูลเงิน หรือการชวนลงทุนอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
- สั่งอาหารทะเล ผลไม้ตามฤดูกาล เนื้อนำเข้า หรือประเภทอื่น ๆ แล้วได้รับสินค้าไม่ตรงตามปก
Make Sure มั่นใจก่อนซื้อขาย
หลังจากที่ได้ทำการตกลงว่าจะซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ก่อนโอนเงินให้นำ ชื่อ-สกุล ของผู้ขายนั้นไปค้นหาใน Google หรือ www.blacklistseller.com ว่ามีประวัติการโกงเงินหรือไม่ ถ้าโชคดีหน่อยก็อาจจะมีผู้หวังดีแจ้งข่าวหรือรายชื่อของมิจฉาชีพผ่านกลุ่มผู้บริโภคทาง Facebook ก็ได้
- เข้าไปที่ www.blacklistseller.com จะพบกับหน้าแรกที่แสดงรายการมิจฉาชีพจำนวน 20 ราย ซึ่งแต่ละคนก็จะมีรายละเอียดบอกอย่างชัดเจน เช่น ชื่อ – สกุล ของมิจฉาชีพ ประเภทของสินค้า ซื้อขายผ่านช่องทางใด โกงมาแล้วกี่ครั้ง ค่าเสียหายรวมเท่าไหร่
- หลังจากนั้นคลิก ‘ตรวจสอบบัญชีผู้ขาย’ ที่มุมด้านซ้ายบน โดยระบบจะแสดงคำชี้แจงในการใช้งานเบื้องต้น และมีช่องว่างให้กรอกข้อมูล ซึ่งถ้าหากต้องการจะสืบค้นข้อมูลการโกงของมิจฉาชีพ เราจะต้องทราบเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของมิจฉาชีพก่อน เช่น หมายเลขบัญชี พร้อมเพย์ ชื่อ นามสกุล หรือหมายเลขบัตรประชาชน โดยสามารถเลือกกรอกช่องทางใดช่องทางหนึ่งก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง
- หลังจากที่ได้สืบค้นข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลการโกง และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือหลักฐานที่ผู้เสียหายได้แจ้งไว้ ซึ่งข้อมูลก็น่าจะเพียงพอต่อการสืบค้น แต่ถ้าหากว่าค้นหาแล้วไม่พบข้อมูลการโกง แสดงว่าบัญชีนั้นยังขาวสะอาดอยู่ หรือผู้เสียหายไม่ได้แจ้งข้อมูลในเว็บไซต์นี้
- สำหรับผู้ที่อยากแบ่งปันข้อมูลของมิจฉาชีพ หรือประสบการณ์โดนโกงออนไลน์ ก็สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ‘แจ้งผู้ขายที่ควรระวัง’ พร้อมแนบหลักฐานทั้งหมดที่มีไว้บนหน้าเว็บไซต์นี้
ส่องพฤติกรรมน่าสงสัยส่อแววโกง
ก่อนตัดสินใจซื้อขายสินค้าใดไม่ว่าราคานั้นจะสูงหรือต่ำ ต้องมั่นใจเสียก่อนว่าชื่อผู้ขายไม่ได้ติดแบล็คลิสเป็นมิจฉาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถมองได้หลายแง่มุม เช่น อาจจะมีการแอบอ้าง สวมรอยเป็นคนอื่น มีผู้รู้เห็นหลายคน หรือเป็นการซื้อขายกับบุคคลนี้เป็นครั้งแรก
- หลังจากโอนเงินค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ขายยังนิ่งเงียบ ไม่มีการแจ้งเกี่ยวกับการส่งพัสดุ หรืออัพเดทความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง
- ผู้ขายติดต่อกลับมา แต่ติดปัญหาในการส่งของ ยื้อเวลาการส่งของให้ได้มากที่สุด
- เพจขายของเพิ่งเปิดได้ไม่กี่วัน ไม่มีข้อมูลบน Social Media มากนัก ไม่มีการโฆษณาสินค้าเหมือนร้านค้าปกติ
- รับยอดแล้ว แต่โดนผู้ขายบล็อกทุกช่องทางการติดต่อ หรือปิดเพจหนีไป
- ร้านค้าไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่มีรีวิว หรือ Feedback จากลูกค้าคนอื่น
ตั้งสติรวบรวมหลักฐาน
เมื่อเกิดโนโกงออนไน์เข้าแล้ว ไม่ว่าจะความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ตาม ขอให้ Realize เลยว่า นั่นคือการโกง มิจฉาชีพควรได้รับบทเรียนและบทลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการฉ้อโกงแบบนี้เกิดขึ้นกับคนอื่นอีก ในฐานะผู้บริโภคอย่างเราที่พอจะรู้ตัวว่าโดนโกงแน่นอน ให้รีบเตรียมความพร้อมให้ไวที่สุด ดังต่อไปนี้
- ตั้งสติและรวบรวมหลักฐานทั้งหมด ปริ้นสีใส่กระดาษ A4 เพื่อเตรียมเข้าแจ้งความ โดยรวบรวมตั้งแต่ การโพสต์ขายของ บทสนทนาระหว่างผู้ขาย หลักฐานการโอนเงิน และหลักฐานอื่น
- เดินทางไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) หรือสถานีตำรวจตามเขตพื้นที่ที่ได้โอนเงิน ตัวอย่าง บ้านอยู่ตำบล A แต่ได้ทำธุรกรรมที่ตำบล B ก็ต้องแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรตำบล B
- ค้นหาข้อมูลสถานีตำรวจ : www.royalthaipolice.go.th/station.php
- เล่าเหตุการณ์ให้ตำรวจร้อยเวรรับทราบ พร้อมยื่นหลักฐานคือได้เตรียมไว้ ควรบอกให้ร้อยผู้ที่เขียนบันทึกประจำวันนั้น ทราบถึงจุดประสงค์ของเราด้วย ว่าต้องการแจ้งความเอาผิด และต้องการอายัดบัญชีของมิจฉาชีพ
- หลังจากที่ลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความเอาผิดเรียบร้อยตามกระบวนการแล้ว ผู้เสียหายจะต้องเซ็ตชื่อกำกับในใบบันทึกประจำวันด้วย และตำรวจก็จะให้สำเนาบันทึกประจำวันและคำสั่งอายัดบัญชี เพื่อเข้ายื่นต่อธนาคารให้เรา
อายัดบัญชีมิจฉาชีพ
หลังจากที่ได้หลักฐานการแจ้งความมาแล้ว ควรรีบเดินทางไปยัง ‘ธนาคารพี่มิจฉาชีพได้เปิดบัญชีไว้’ โดยธนาคารที่ต้องประสานงานไปยังธนาคารสาขาบัญชีปลายทาง (บัญชีของมิจฉาชีพ) ซึ่งหลักฐานประกอบการอายัดบัญชี ประกอบไปด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
- ใบแจ้งความ
- คำสั่งอายัดบัญชี
- สมุดบัญชีต้นทาง
- สำเนาบัตรประชาชน
- หลักฐานที่ได้รวบรวมไว้แจ้งความ
หลังจากที่ธนาคารปลายทางได้รับเรื่องไว้แล้ว ธนาคารก็จะทำเรื่องแจ้งไปยังมิจฉาชีพ ให้โอนเงินคืนโดยด่วน แต่ถ้าหากไม่ยอมคืนก็จะต้องโทษและต้องดำเนินคดีตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมิจฉาชีพที่ฉ้อโกงและไม่ยอมคืนเงินถือว่ามีความผิดทั้งหมด 2 กระทงเบื้องต้น ดังนี้
- ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 การทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อความที่เป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกและแจ้งให้ทราบ มีสิทธิ์ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ 2550 ต้องโทษในมาตราที่ 14 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ไม่ยอมคืนเงินทำอย่างไรดี
ในกรณีที่มิจฉาชีพยังไม่ยอมโอนเงินคืนมา จะตกเป็นกระบวนตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องติดตาม IP Address ของมิจฉาชีพ และติดตาตัวผู้ร้าย ถ้ายังมีเจตนาไม่ยอมคืนเงิน ก็เท่ากับว่าต้องดำเนินการตามกฎหมายขั้นสูง นั่นคือการขึ้นศาลเพื่อพิพากษาคดี และกำหนดโทษให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งการตัดสินโทษดังกล่าวนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา
โลกออนไลน์ทำการซื้อขายมีความสะดวกมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเดินทาง แต่ก็ต้องระวังภัยจากการฉ้อโกง ไม่ใช่ว่าอยู่ห่างกันแล้วจะไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดได้ ควรมีความระมัดระวังและไม่วางใจร้านไหนจนเกินไป อีกวิธีการป้องกันที่ดี คือ ซื้อสินค้าที่มักขายตาม Application หรือระบบ E – Commerce เพราะค่อนข้างมีความปลอดภัย การันตีด้วยนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคของบริษัทนั้นๆ แต่ถ้าหากถูกโกงเรียบร้อยแล้ว ผู้เสียหายต้องรีบรวบรวมหลักฐานทั้งหมด เพื่อเข้าแจ้งความเอาผิด พร้อมทั้งอายัดบัญชี โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ไม่ควรทิ้งระยะเวลานานเกินกว่า 3 เดือน ตั้งสติก่อนจ่ายเงิน ลดปัญหาการโดนโกงออนไลน์ได้แน่นอน
ขอบคุณข้อมูล : https://www.moj.go.th/view/58179 , https://theactive.net/data/internet-fraud-2021
——————— Ford RMA ยินดีให้บริการ ———————
ติดต่อรับรถเข้าศูนย์บริการ : 02-407-0999
ID Line : @fordrma.th
Link LINE : https://lin.ee/mmPcYDU
ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : 02-416-1555
ฟอร์ดพระราม4 : 02-713-6000
ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : 02-432-6599
ฟอร์ด หัวหมาก : 085-661-2488
Facebook : https://www.facebook.com/Cityfordrma/
Website : https://www.fordrma.com/