fbpx

Ford RMA

การทำงานของ DPF และ Adblue คืออะไร

DPF คืออะไร? 

DPF คือ ระบบกรองดักจับเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ให้เหลือน้อยที่สุด ป้องกันควันดำจากท่อไอเสีย กระบวนการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอัตโนมัติ 

  • ดักจับเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ 
  • เผาไหม้เขม่าที่ดักจับไว้ให้เหลือน้อยที่สุด ก่อนผ่านการกรองโดยใช้อุณหภูมิ 550 ˚C 
  • กระบวนการเผาไหม้จะเกิดขึ้นอัตโนมัติ 

ลักษณะการทำงานของ DPF มี 2 แบบ

1.การกำจัดเขม่าแบบ Passive 

การทำงานจะเกิดขึ้นเองระหว่างใช้รถตามปกติ เมื่อมีความเร็วมากกว่า 7 กม./ชม. และรอบเครื่องยนต์ต้องอยู่ระหว่าง 1500-3000 รอบต่อนาที 

สาเหตุที่ DPF แบบ Passive ไม่ทำงาน 

  • เดินเครื่องเบาเป็นเวลานาน มีการเร่ง ลดความเร็ว และหยุดนิ่งบ่อยๆ เช่น รถติด หรือขับช้าเกินไป 
  • ขับขี่ในระยะทางสั้นๆ การขับขี่ในแต่ละครั้งไม่เกิน 10 – 15 นาที 
  • รอบเครื่องยนต์ไม่ถึง 1500 รอบต่อนาที 
  • รอบการขับขี่ความเร็วต่ำ  
  • เครื่องยนต์ร้อนไม่พอ 

2.การกำจัดเขม่าแบบ Active เกิดขึ้นเมื่อมีข้อความแจ้งเตือน 

ข้อความจะแจ้งเตือนหน้าจอให้ขับรถเพื่อทำความสะอาดไส้กรอง หากรถเข้าเงื่อนไขการกำจัดเขม่า หน้าจอจะแสดงข้อความกำลังดำเนินการ และข้อความจะหายไปเมื่อกระบวนการเสร็จสิ้น

DPF เตือน Service Now ต้องทำอย่างไร 

  • หากมีการแจ้งเตือน Service DPF เกิดจากระบบไม่สามารถกำจัดเขม่าด้วยวิธี Passive หรือ Active ได้แล้ว อาจเกิดจากการอุดตัน ต้องนำรถเข้าศูนย์บริการ 
  • การใช้งานรถที่เข้าเงื่อนไข DPF 
  • ค่อยๆ ทำความเร็วรถยนต์สูงขึ้นในการขับขี่ปกติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาที  
  • หลีกเลี่ยงการเดินเบาเป็นเวลานาน 

เลือกเกียร์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาความเร็ว รอบเครื่องยนต์ ระหว่าง 1500-3000 รอบต่อนาที

AdBlue คืออะไร 

  • น้ำยาบำบัดไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซล จะมีการฉีดเข้าระบบเพื่อทำความสะอาดก๊าซไอเสีย  
  • เป็นน้ำยาไม่มีพิษ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ไวไฟ 
  • AdBlue® ถูกจัดเก็บไว้ในถังขนาดเล็ก ผู้ขับขี่จะต้องหมั่นเติม AdBlue® เช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 
  • AdBlue จะถูกกำหนดให้ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลของ Everest ทุกรุ่น และ Raptor ดีเซล เท่านั้น 
  • เมื่อเติมสาร AdBlue ลงไป ยังคงทำให้รถยังคงมีพละกำลังและสมรรถนะในการขับขี่ขั้นสูงเช่นเดิม แต่ปล่อยไอเสียออกมาในปริมาณที่น้อยลง 

ข้อห้าม

  1. อย่าเติมนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือสารเติมแต่งใดๆ ลงในถัง AdBlue เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งไม่ครอบคลุมในการรับประกันรถยนต์ 
  1. อย่าเติม AdBlue® จนล้นถัง 
  1. อย่าเจือจาง และอย่าให้โดนแสงแดด 
  1. จัดเก็บ AdBlue® ที่อุณหภูมิระหว่าง -5°C ถึง 20°C 
  1. ไม่ควรดเก็บสาร AdBlue® ไว้ภายในรถยนต์เป็นเวลานาน 
  1. อย่าสตาร์ทเครื่องยนต์ หากเติมของเหลวผิดประเภทเข้าไปในถังสาร AdBlue® ต้องนำรถยนต์เข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบโดยเร็วที่สุด 
  1. การเติมสารหรือของเหลวผิดประเภทเข้าไปในถัง AdBlue® กรณีเกิดความเสียหายแก่เครื่องยนต์ ไม่อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันคุณภาพ 

ข้อควรระวัง 

  • ควรเติมสาร AdBlue® ทันที เมื่อสารลดลงจนอยู่ในระดับตํ่า หากมีสารปนเปื้อนให้เปลี่ยนใหม่ทันที เพราะรถจะไม่สามารถสตาร์ทได้จนกว่าจะเติมหรือเปลี่ยนถ่ายสาร AdBlue 
  • การดัดแปลงหรือการปิดใช้งานระบบ AdBlue จะส่งผลให้มีการจำกัดสมรรถนะของรถยนต์ และรถยนต์จะสตาร์ทไม่ได้ และจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากการรับประกันรถยนต์ในส่วนที่เกี่ยวของ 

ขั้นตอนการเติมสาร Adblue 

  • เปิดฝา + ขันหัวจ่ายกับแกลลอน AdBlue ให้แน่น 
  • เสียบหัวจ่ายไปยังช่องเติม AdBlue ที่ตัวรถ (อยู่ใกล้ฝาถังน้ำมัน) 
  • ยกแกลลอนเทสาร AdBlue จนเต็ม แล้วหยุดเท 
  • ถอดหัวจ่าย ปิดฝาแกลลอน ปิดฝาช่องเติมสาร AdBlue ที่ตัวรถให้สนิท 

หมายเหตุ: สารจะหยุดไหลเมื่อสารเต็มถัง 

  • เมื่อเติมสาร AdBlue® หมดถัง เมื่อเติมเข้าไปใหม่ ต้องรอระยะเวลาสักพัก ก่อนที่ระบบจะบันทึกระดับที่เติมเข้าไปใหม่ 
  • หากถังสาร AdBlue® อยู่ในอุณหภูมิติดลบเป็นน้ำแข็ง หน้าจอจะแสดงเตือนว่าไม่มีสาร AdBlue  
  • การสิ้นเปลือง AdBlue®  แปลผันตามสถนาการณ์ เช่น ลักษณะการขับขี่ ความเร็วในการขับขี่ อุปกรณ์เสริมที่เพิ่มเข้ามา นํ้าหนักบรรทุก และการลากจูงเป็นต้น 
  • การเติม B20 ไอเสียจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อัตราสิ้นเปลือง AdBlue เพิ่มขึ้น 

ลงทะเบียนรับส่วนลด

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า
    Chat with us!
    Instagram