เคล็ดลับการขับรถสำหรับสตรีตั้งครรภ์
การเตรียมตัวเมื่อต้องออกเดินทางสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของการขับขี่ วิศวกรได้ทำความเข้าใจความต้องการของสตรีมีครรภ์ โดยบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ได้ออกแบบชุดจำลองคลุมท้องเพิ่มความเทอะทะไม่สบายตัว โดยมีน้ำหนัก 13.6 กก. (น้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์) ช่วยให้วิศวกรได้ออกแบบยานพาหนะที่เอื้ออำนวยให้แก่สตรีมีครรภ์ และรองรับผู้ขับขี่ได้อย่างหลากหลาย เพื่อความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากการจำลองครั้งนี้ ฟอร์ดมีคำแนะนำดังต่อไปนี้
1. การคาดเข็มขัดนิรภัยให้ปลอดภัย
ขั้นแรกให้ถอดเสื้อคลุมเทอะทะออกก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่พอดีและคล่องตัว ดึงเข็มขัดนิรภัยพาดไหล่ ระหว่างหน้าอกลงไปด้านข้างตรงสะโพก ไม่พาดหน้าท้อง คาดให้ต่ำกว่าระดับหน้าท้องลงไปจนถึงหน้าตัก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข็มขัดอยู่ในแนวราบมากที่สุด อย่าคาดเข็มขัดคาดไหล่ไว้ข้างหลัง หรือไว้ใต้แขน เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
2. ปรับเบาะรถให้เหมาะสม
ปรับเบาะนั่งถอยหลังไปในระยะที่สบายกับการเหยียบแป้นคลัทช์ เบรก และคันเร่ง ควรนั่งเว้นระยะให้ห่างจากพวงมาลัยประมาณ 10 นิ้ว เพื่อป้องกันหน้าท้องในกรณีที่ถุงลมนิรภัยทำงานขณะเกิดอุบัติเหตุ หากพวงมาลัยรถสามารถปรับได้ ให้หันศูนย์กลางพวงมาลัยออกจากหน้าท้องไปที่หน้าอก หลังจากเปลี่ยนตำแหน่งเบาะนั่งแล้ว อย่าลืมปรับกระจกมองหลัง และกระจกมองข้าง หากรู้สึกปวดหลัง ให้วางหมอนทรงกลมเล็กๆ หรือผ้าขนหนูม้วนไว้ด้านหลังส่วนล่าง เพื่อเพิ่มความสบายขณะขับขี่
3. อาการหิวจุกจิก และอาการแพ้ท้อง
ความอยากอาหาร และ อาการแพ้ท้อง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาของวัน อย่าลืมเตรียมน้ำและของว่าง เตรียมถุงคลื่นไส้ติดรถไว้ หลีกเลี่ยงการขับรถขณะฟุ้งซ่าน ควรจอดรถในสถานที่ที่ปลอดภัยเมื่อหิวหรือรู้สึกอาการไม่ดี
พักผ่อนหรือหลีกเลี่ยงการขับรถ
ความรู้สึกของสตรีตั้งครรภ์ ทนต่อความเครียดได้มากกว่าปกติ ดังนั้นควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้า หลีกเลี่ยงการขับรถเป็นระยะทางไกลถ้าเป็นไปได้ และหยุดพักบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่เท้า เนื่องจากเท้าและข้อเท้าจะบวมได้ง่ายขึ้นเมื่อนั่งเป็นเวลานาน ดังนั้นให้พักและยืดกล้ามเนื้อและขยับขา เท้า และนิ้วเท้า
สำหรับสตรีมีครรภ์ หลีกเลี่ยงการขับรถเมื่อเป็นไปได้ เบาะหลังตรงกลางเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด (ตราบใดที่คาดเข็มขัดนิรภัย) แต่ถ้าหากนั่งอยู่ตรงเบาะผู้โดยสารส่วนหน้า ให้ดันเบาะไปด้านหลังให้มากที่สุดเพื่อป้องกันหน้าท้องกระแทกกับการทำงานของถุงลมนิรภัย หลังจากเตรียมพร้อมสำหรับการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัยแล้ว ก็ถึงเวลาค้นหาเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เหมาะสำหรับการเดินทางกลับบ้านพร้อมกับลูกน้อยเป็นครั้งแรก
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.rmagroup.net/blog/driving-tips-for-expectant-mothers-staying-safe-on-the-road-to-motherhood/