กฏจราจรที่ควรรู้เบื้องต้นเพื่อการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนนนั้นแน่นอนว่าล้วนต้องการความสามัคคีจากผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และการจราจรที่มีความเป็นระเบียบแน่นอนว่าจะลดปัญหาในการเดินทางหรือสามารรถลดระยะเวลลาในการเดินทางอีกด้วย ดังนั้นแล้ววันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับกฏจราจรเบื้องต้นที่ทุกคนควรทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีในการขับขี่ และลดการเกิดอุบัติเหตุ
กฏจราจรที่ควรรู้ในชีวิตประจำวัน
1. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อคุณขึ้นรถ หรือกำลังที่จะออกรถนั้น อย่าลืมที่จะคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งก่อนออกเดินทางเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ในกรณที่เกิดอุบัติเหตุหรือการเบรครถอย่างกระทันหันในขณะขับขี่นั้น การคาดเข็มขัดนิรภัยจะเป็นตัวคอยเซฟชีวิต และแรงในการเบรคของรถได้นั่นเอง
หากพูดถึงกฏหรือพระราชบัญญัติจราจรทางบกจะมีการระบุไว้ว่า ผู้ขับรถรวมทั้งผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับรถตลอดเวลา หากฝ่าฝืนจะถือว่ามีความผิด ต้องระวางโทษปรับคนขับ 500 บาท และผู้โดยสารอีก 500 บาท
2. ทางม้าลายต้องหยุดให้คนข้าม
กฏจราจรที่ควรรู้ข้อง่ายๆที่ไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันการข้ามทางม้าลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจเนื่องจากมีข่าวอุบัติเหตุบ่อยครั้งระหว่างการข้ามถนน หรือการข้ามทางม้าลายนำมาซึ่งการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจนถึงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นนี่คือผลลัพธ์ที่บ่งบอกให้ทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนได้ตระหนักถึงการระมัดระวังในการขับขี่ไม่ว่าจะเป็นรถจัรยานต์ หรือรถยนต์ก็ควรที่จะต้องชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ตามกฎหมายนั้นเมื่อเห็นทางม้าลายควรต้องชะลอความเร็ว ไม่ควรเร่งความเร็ว และห้ามแซงในระยะ 30 เมตร เพื่อหยุดให้คนข้ามทางม้าลาย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 46 และ มาตรา 70 หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ระบุไว้ว่าหากไม่หยุดรถจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
3. ห้ามจอดรถทับทางม้าลาย
ทางม้าลาย ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเส้นทางที่มีไว้เพื่อให้คนเดินข้ามถนนเท่านั้นนะ แต่คุณทราบหรือไม่ว่าจริงๆแล้วหากคุณหยุดรถทับทางม้าลายนั้นมีความผิด ดังนั้นสิ่งเล็กๆที่หลายคนมองข้ามโดยการจอดรถ หรือหยุดรถทับทางม้าลายนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปรับเปลี่ยนโดยการเว้นระยะห่างจากทางม้าลายเพื่อให้คนข้ามและไม่ถือเป็นการทำผิดกฎหมายอีกด้วย
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ควบคุมผู้ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทางข้าม ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตร จากทางข้าม (มาตรา 57) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
4. สำเนาภาพคู่มือจดทะเบียนรถควรมีติดรถไว้
คุณหรือหรือไม่ว่า จริงๆแล้วเราควรเก็บเอกสารสำคัญไว้กับตัวรถด้วยเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันหากมีการเรียกตรวจ โดยคุณควรมีเอกสารเกี่ยวกับเล่มทะเบียนรถหรือสำเนาเล่มทะเบียนติดรถไว้
ตามกฎหมายผู้ขับรถต้องพกใบอนุญาตขับรถหรือใบขับขี่ และสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ ในขณะขับขี่ หากไม่พกจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 โดยมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
5. ใบอนุญาตขับขี่ต้องมีติดตัว
ใบขับขี่ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการขับรถ คุณควรพกใบขับขี่ไว้กับตัวตลอดในขณะที่ใช้รถใช้ถนน หรือว่าตลอดเวลายิ่งดี เพราะใบขับขี่ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อใช้แสดงหลักฐานในการขับขี่เมื่อมีการเรียกตรวจเพื่อแสดงตัวเท่านั้น นอกจากจะเป็นเอกสารทางราชการที่ใช้ยืนยันตัวตนว่าบุคคลนี้มีความสามารถรวมถึงความรู้ในการขับขี่ยานพาหนะแต่ละประเภทแล้วยังสามารถใช้เป็นสิ่งยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมอื่นๆแทนบัตรประชาชนได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขั้นเนื่องจากหากมีการเรียกตรวจใบขับขี่แล้วคุณไม่ได้นำใบจริงติดตัวมาด้วยแล่วฃะก็ สามารถใช้ใบขับขี่รถยนต์แบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงแทนใบขับขี่ตัวจริงแก่เจ้าหน้าที่แทนได้ ใครไม่ชอบพกของติดตัว เดี๋ยวนี้แค่มีโทรศัพท์เครื่องเดี๋ยวสามารถทดแทนการพกเอกสารสำคัญได้เลย
โดยถ้าหากขับรถแล้วไม่มีใบขับขี่ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 64 ความว่า ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. เลี้ยวรถต้องเปิดสัญญาณไฟ
การเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวเป็นกฏจราจรที่ควรรู้เบื้องต้นในการใช้รถใช้ถนน หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุนั้นเกิดจากผู้ขับขี่ไม่เปิดสัญญาณไฟขณะที่จะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทางจราจร ฉะนั้นการควรเปิดสัญญาณไฟก่อนเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องจราจรก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ไม่ควรเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลนแบบกะทันหัน โดยตามกฎหมายมีการกำหนดว่าควรเปิดสัญญาณไฟเป็นระยะทาง 30 เมตรก่อนเลี้ยวรถ เพื่อให้รถคันหลังที่ตามมาได้รับรู้และเตรียมตัวทันนั่นเอง
7. ขับรถในความเร็วที่กฎหมายกำหนด
ความเร็วบนป้ายประกาศที่กำหนดนั้นมาจากการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการขับขี่อย่างดีแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นผู้ใช้รถบนถนนควรจะต้องมีวินัยในการขับรถตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติจราจรทางหลวง เกี่ยวกับความเร็วของการใช้รถใช้ถนนนั้น มีตั้งแต่ ใช้ความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 80-120 กม./ชม.ตามแต่ละประเภท เช่น บนทางหลวงระหว่างจังหวัดสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. โดยถ้าหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท
8. ไม่จอดในที่ห้ามจอด
คุณคงเคยพบเจอการจราจรที่ติดขัดเนื่องจากมีการจอดรถบริเวณที่ห้ามจอดอย่างข้างทางเท้า จุดยอดนิยมที่ทำให้การจราจรยากขึ้นเนื่องจากเหตุผลในการยึดความสะดวกสบายในการจอดของผู้ขับขี่ กฏจราจรที่ควรรู้อย่างการไม่ควรจอดรถในที่ห้ามจอด เช่น บริเวณทางร่วมทางแยก, จอดรถด้านขวาของทางเดินรถ, จอดรถบนทางเท้า หรือจอดรถกีดขวางการจราจร นั้นเป็นสิ่งที่หลายคนละเลยอยู่บ่อยครั้งซึ่งการจอดในลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 โดยจะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท อีกด้วย
9. แซงเส้นทึบ
เส้นทึบบนถนนที่คุณสามารถเห็นได้ตลอดๆนั้นรู้หรือไม่ว่า เป็ฯสัญลักษณ์ที่แสดงเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าห้ามแซงเพราะอาจเป็นสาเหตุเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อรถในเลนสวนทางก็เป็นได้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการแซงบริเวณที่มีสัฐลักษณ์เส้นทึบแล้วแซงในบริเวณเส้นปะแทนเพื่อความปลอดภัย
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยได้ระบุโทษในข้อหาแซงในเส้นทึบ โดยมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 400-1,000 บาท
10. ให้รถในวงเวียนไปก่อน
กฏจราจรที่ควรรู้เมื่อคุณขับรถมาถึงบริเวณที่เป็นวงเวียนต้องชะลอความเร็วของรถลง และหยุดรอให้รถที่อยู่ในวงเวียนด้านขวาขับผ่านไปก่อน คุณจึงขับต่อไปได้ นอกจากจะเป็นมารยาทที่ดีแล้วยังสร้างวินัยที่ดีในกาขับขี่อีกด้วย
ตามกฎหมายแล้วก็มีข้อบังคับถูกกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 70 และมาตรา 71 เมื่อผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถลง รวมทั้งในกรณีหากมีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน ซึ่งถ้าฝ่าฝืนมีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
11. เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด
หลายคนอาจเคยชินกับการเข้าใจที่ว่าเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด แต่ไม่ใช่ว่าทุกที่การขับรถในทุกวันนี้จะยึดหลักนั้นเสมอไปเพราะในบางพื้นที่หรือบางจังหวัดนั้นแทบจะทุกแยกมีป้ายประกาศให้เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดแต่ในบางที่จะติดว่าเลี้ยวซ้ายรอสัญญาณไฟ ให้คุณสังเกตป้ายเหล่านั้นก่อน หากคุณพบป้ายประกาศ “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” คุณควรหยุดรอให้รถจากทางด้านขวามือขับผ่านไปก่อน แล้วจึงเลี้ยวซ้ายไปได้
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หากในกรณีที่ไม่มีป้ายติดไว้แล้วเลี้ยวผ่านไปจะถือว่าผิดกฎจราจร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
12. ชะลอความเร็วเมื่อไฟเหลือง
กฏจราจรที่ควรรู้เรื่องไฟจราจรอย่างสัญญาณไฟเหลือง การฝ่าไฟเหลืองสามารถพบได้บ่อยบนท้องถนน จริงๆแล้วนอกจากจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้แล้วยังถือว่าทำผิดกฎหมายอีกด้วย เพราะว่าแท้จริงแล้วหากคุณเห็นสัญญาณไฟเหลือง ควรชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถแทนการเหยียบเพื่อเร่งเพื่อให้พ้นการติดไฟแดง
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 22 หากฝ่าฝืนไฟเหลืองมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
13. ไม่ขับรถยนต์แช่ขวา
การขับรถแช่ช่องจราจรด้านขวา จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากเลนขวามีไว้สำหรับแซงเท่านั้น เพราะถ้าคุณขับรถแช่เลนถือเป็นการกระทำความผิดในข้อหาขับรถกีดขวางจราจร โดยผู้ที่ขับแช่เลนขวาจะโดนปรับไม่เกิน 1,000 บาท
14. ไฟตัดหมอกเปิดใช้เมื่อจำเป็น
รู้หรือไม่ว่าตามกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ไฟตัดหมอกสามารถใช้ได้ต่อเมื่อรถวิ่งอยู่ในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยเท่านั้น แน่นอนว่าไฟตัดหมอกจะสามารถเปิดใช้งานได้ตามสะดวกแต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณสามารถที่จะเปิดได้ตามใจในทุกสถานการรณ์ แล้วเหตุใดบ้างที่การเปืดไฟตัดหมอนั้นจะไม่เป็นการทำผิดกฎหมาย อาทิ ในกรณีที่มีหมอกควัน ฝุ่นละอองหนาหรือฝนตกหนัก หากกรณีที่เปิดนอกเหนือความจพเป็นสามารถมีความผิด โดยปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
ขอบคุณข้อมูล car.kapook.com
——————— Ford RMA ยินดีให้บริการ ———————
ติดต่อรับรถเข้าศูนย์บริการ : 02-407-0999
ID Line : @fordrma.th
Link LINE : https://lin.ee/mmPcYDU
ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : 02-416-1555
ฟอร์ดพระราม4 : 02-713-6000
ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : 02-432-6599
Google Map ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : https://g.page/FordKalpapruek?share
Google Map ฟอร์ดอาร์เอ็มเอ สาขาพระราม 4 : https://g.page/FordRama4RMA?share
Google Map ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : https://g.page/fordrama5?share
Facebook : https://www.facebook.com/Cityfordrma/
Website : https://www.fordrma.com/