fbpx

Ford RMA

ระบบขับเคลื่อนแบบ FWD, RWD, AWD และ 4WD ต่างกันอย่างไร?

ระบบขับเคลื่อนแบบ FWD, RWD, AWD และ 4WD ต่างกันอย่างไร?

ระบบขับเคลื่อนแบบ FWD, RWD, AWD และ 4WD ต่างกันอย่างไร?

เคยสงสัยกันไหมว่ารถที่เราขับกันอยู่เนี่ย มันขับเคลื่นด้วยระบบแบบไหน? แท้จริงแล้วระบบการขับเคลื่อนมีทั้งหมดกี่ประเภทกันแน่นะ? ถ้าให้แยกแบบง่ายๆ ระบบขับเคลื่อนจะแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อคู่หน้า, ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อคู่หลัง, ขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ AWD และขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ 4WD โดยระบบจะส่งแรงขับไปยังล้อแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละระบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เพื่อให้รถสามารถตอบโจทย์การใช้รถได้อย่างตรงจุด บางคนอาจจะใช้รถสำหรับการเดินทางสัญจรไปทำงานทั่วไป  แต่บางคนต้องการใช้รถเพื่อการพาณิชย์ ขนส่งสิ่งของน้ำหนักกว่าเท่าตัว ควรเลือกใช้รถให้ถูกกับจุดประสงค์ เพื่อยืดระยะเวลาการใช้งาน และทำให้คงสภาพใช้งานได้อย่างปกติ 

ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ

โดยทั่วไปแล้วเมื่อพูดถึงการขับเคลื่อน 2 ล้อ อาจจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วแรงส่งมาจากล้อหน้าหรือล้อหลัง และมีความซับซ้อนในเรื่องของการวางตำแหน่งเครื่องยนต์ เพื่อให้ส่งแรงขับไปยังเพลาได้อย่างไม่มีสะดุด และสมรรถนะในการขับขี่ที่ดี เราควรเลือกประเภทการขับเคลื่อนให้ตรงกับไลฟ์สไตล์

  • ขับเคลื่อนล้อหน้า (Front Wheel Drive : FWD) เป็นระบบที่ประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด เพราะน้ำหนักของเครื่องยนต์อยู่ข้างหน้า จึงทำให้รถมีความสมดุล ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกเช่นกัน เป็นที่นิยมในตลาดรวมญี่ปุ่น และรถอีโก้คาร์ ถ้าใครได้มีโอกาสทดลองขับรถอีโคคาร์ ก็จะทำให้รู้สึกเลยว่าในช่วงท้ายรถค่อนข้างมีน้ำหนักเบา การบังคับเลี้ยวจึงตกเป็นหน้าที่ของเพลาโดยตรง
  • การขับเคลื่อนแบบล้อหลัง (Rear Wheel Drive: RWD) การขับเคลื่อนแบบล้อหลังมักนิยมใช้กับเครื่องยนต์ที่ต้องการกำลังสูงการกำลังสูง สามารถรองรับน้ำหนักของตัวรถได้ มักพบได้กับรถกระบะ หรือรถประเภทอื่นซึ่งต้องรองรับน้ำหนักหลายเท่าตัว ซึ่งระบบการขับเคลื่อนด้วยล้อหลังสามารถแบ่งได้อีก 3 ประเภท ดังนี้
    • Front Engine Rear Wheel Drive : FR ตำแหน่งของเครื่องยนต์จะอยู่ข้างหน้า แต่สามารถส่งกำลังผ่านเพลาไปยังเฟืองท้าย  แล้วจึงกระจายกำลังไปยังล้อหลังให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างปกติ 
    • Front Midship Engine Rear Wheel Drive : FMR เครื่องยนต์จะถูกออกแบบให้วางไว้ข้างหน้า และวางไว้หลังเพลาตรงบริเวณล้อคู่หน้า ระบบนี้จะช่วยรักษาสมดุลระหว่างข้างหน้าและข้างหลังได้ดีกว่าระบบอื่น 
    • Mid Engine Rear Wheel Drive : MR ระบบนี้ถูกออกแบบให้วางเครื่องยนต์ไว้ตรงกลางระหว่างล้อคู่หลัง ช่วยให้รถสามารถกระจายน้ำหนักได้ดี แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ 
    • Rear Engine Rear Wheel Drive : RR เครื่องยนต์จะอยู่ด้านท้าย บริเวณเลยล้อคู่หลังไปนิดหน่อย ผึ้งเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ช่วยลดแรงเสียดทานขณะขับขี่ โดยจะมีเกียร์อยู่ด้านหน้า 

ข้อดี – ข้อเสีย ของการขับเคลื่อนแบบล้อหน้า

การใช้รถที่มีระบบการขับเคลื่อนแบบล้อหน้า ดูเหมือนจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์ในเมืองมากกว่า เพราะรถมนุษย์กินน้ำมันน้อย ใช้พื้นที่น้อย การทำงานต้องอาศัยหลายส่วนร่วมกัน โดยเฉพาะเพลารถ ที่มีหน้าที่บังคับเลี้ยวให้สมดุล 

  • ราคาถูกกว่าชิ้นส่วนขับเคลื่อนแบบล้อหลัง 
  • ประหยัดน้ำมันมากกว่า 
  • อัตราเร่งดี แต่ในทางตรงข้ามก็จะมีแรงออกตัวน้อย 
  • เครื่องยนต์ขนาดเล็ก จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ในห้องโดยสาร
  • รถมีความสมดุลมากกว่า 
  • เพลาหน้าทำงานหนัก อาจทำให้ลดเสื่อมสภาพได้
  • กระจายน้ำหนักได้ไม่ค่อยดีเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูง 

ข้อดี–ข้อเสีย ของการขับเคลื่อนแบบล้อหลัง

การขับเคลื่อนแบบล้อหลังสามารถมอบสมรรถนะในการขับขี่ดีกว่าการขับเคลื่อนแบบล้อหน้า ส่วนมากมักเป็นรถที่ทำความเร็วได้อย่างต่อเนื่อง สามารถใช้เดินทางไปได้ แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่ 

  • ค่าซ่อมบำรุงสูง ชิ้นส่วนแพง และมีโครงสร้างซับซ้อนกว่า
  • สามารถกระจายแรงและน้ำหนักไปยังระบบต่างๆ ได้ดีกว่า
  • มีความคงทน สามารถใช้งานได้ในระยะยาว
  • ทรงตัวได้ดีเมื่ออยู่ในรอบความเร็วสูง
  • การรักษาสมดุลขณะเข้าโค้งไม่ค่อยดี (Oversteer)
  • เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ทำให้กินขี้ในห้องโดยสาร 
  • เปลืองน้ำมันกว่าการขับเคลื่อนแบบล้อหน้า 

ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ (AWD/4WD)

เป็นระบบที่เราเห็นผ่านการโฆษณาแทบจะเยอะที่สุด โดยระบบแบบ 4 ล้อนี้ จะให้สมรรถนะในการขับขี่ที่ดีกว่าระบบอื่น และกระจายแรงส่งได้ดีกว่า เหมาะสำหรับรถกระบะ, Cross Over และ SUV หรือการขับขี่แบบ Off-Road ซึ่งการบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท 2 ดังนี้

  • ขับเคลื่อนแบบ AWD (All wheel drive) : ระบบนี้จะขับเคลื่อนด้วยล้อทั้ง 4 ตลอดเวลา ทำให้การขับขี่สามารถยึดเกาะถนนได้ดี แม้เข้าโค้งแคบหรือหักออก ทำให้รถมีสมรรถนะยอดเยี่ยม เหมาะสำหรับการใช้ในเมืองปกติทั่วไป แต่ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ขับแบบ Off-Road เพราะกำลังการขับเคลื่อนไปไม่ถึง โดยระบบจะส่งแรงไปยังรองคู่หน้าและล้อคู่หลังแบบ 50/50 ช่วยทำให้กระจายแรงเสียดทานอย่างเท่ากัน และสามารถถ่ายกำลังทดแทนกันได้ 
  • ขับเคลื่อนแบบ 4WD (Four-wheel drive) : หรือระบบ 4×4 ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ระบบนี้ช่วยเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้เหนือไปอีกขั้น สามารถใช้ลุยไปในที่ต่างๆ ได้อย่างสบาย โดยเฉพาะการเดินทางแบบ Off-Road หรือจะใช้ขับขี่ในเมืองก็ได้ การขับเคลื่อนระบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างหลากหลาย มีให้เลือกอีก 3 ระบบ ดังนี้
    • ขับเคลื่อนแบบพาทไทม์ (Part-time 4WD) : ค่อนข้างมีความสะดวกในการใช้งานขณะขับขี่ โดยสามารถสับเปลี่ยนระหว่างโหมด 2WD หรือ 4WD ด้วยตัวเอง เหมาะสำหรับการใช้งานบนถนนสภาพออฟโรด 
    • ขับเคลื่อนแบบฟูลไทม์ (Full-time 4WD) : โดยระบบจะกระจายแรงส่งไปยัง 4 ล้อ การขับเคลื่อนแบบ full Time สามารถมอบสมรรถนะที่ดีกว่า ขับไปได้ทุกสภาพถนน โดยถูกออกแบบให้มีชุดกระจายกำลังอยู่ด้วย ซึ่งมีหน้าที่หลักเป็นตัวกลางแบ่งกำลังขับเคลื่อนโดยเฉพาะ ทำให้รถสามารถรักษาสมดุลระหว่างเราหน้ากับเพลาหลังได้ดีมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ! ระบบการขับเคลื่อนนี้สามารถช่วยลดโอกาสลื่นไถลขณะขับขี่ได้ 
    • ขับเคลื่อน 4WD แบบอัตโนมัติ (Real-time 4WD) : อย่าเพิ่งสับสนระหว่างการขับเคลื่อนแบบพาร์ทไทม์ (Part-time 4WD) ที่สามารถสลับโหมดการขับขี่ 2 ล้อไปยัง 4 ล้อได้ แต่ระบบการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัตินี้ สามารถทำได้แค่ปิด – เปิดระบบได้อย่างเดียว โดยระบบจะวิเคราะห์จากการขับขี่ เมื่อมีแรงขับมากกว่าขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ ระบบนี้ก็จะทำการเปิดระบบการขับเคลื่อน 4 ล้อให้อัตโนมัติ 

ข้อดี – เสีย ของระบบขับเคลื่อน 4WD 

ตามหลักความเป็นจริงนั้น การขับเคลื่อนแบบ 4×4 ไม่ได้ใช้ล้อทั้ง 4 ตลอดเวลา ซึ่งการใช้ล้อจะถูกควบคุมผ่านผู้ขับขี่ ทำให้รถประเภทนี้ต้องการแรงส่งค่อนข้างเยอะกว่าชนิดอื่น แต่สามารถใช้งานได้ทุกกับสภาพถนน และรองรับน้ำหนักได้เยอะ 

  • ทนทาน  พังยาก ใช้งานง่าย 
  • ค่าซ่อมบำรุงแพง
  • การกระจายถ่ายน้ำหนักดีกว่า
  • อัตราเร่งช่วงเข้าโค้งช้า 

ข้อดี – เสีย ของระบบขับเคลื่อน AWD

ล้อของรถประเภทนี้จะหมุนอยู่ตลอดเวลาอย่างอัตโนมัติ จึงทำให้สมรรถนะการยึดเกาะถนนดีกว่าการขับเคลื่อนประเภทอื่น  สามารถป้องกันการลื่นไถล และปลอดภัยขณะเข้าโค้ง แต่ในทางกลับกันระบบขับคลื่อน AWD ใช้ชิ้นส่วนเยอะมาก เพื่อประกอบในการกระจายพลังขับขี่

  • รถสามารถเกาะถนนได้ดีกว่า
  • ค่าซ่อมบำรุงแพง
  • มีโอกาสเสียกำลังขับเคลื่อน 

สรุป คือ ไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบไหนก็ตาม ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนทุกแบบ ทางที่ดีควรเลือกใช้รถให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ ก่อนซื้อหมั่นสังเกตพฤติกรรมการใช้รถของตนเอง ขับในเมือง ขับทางไกล หรือขับแบบลุยเข้าป่าเขา เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และยืดอายุการใช้งานของรถให้ยาวนานยิ่งขึ้น

  • การขับเคลื่อนล้อหน้า (Front Wheel Drive : FWD)
    • ข้อดี สมรรถนะในการเร่งสูง 
    • ไม่ค่อยยึดเกาะถนน พวงมาลัยดื้อ เดี๋ยวไม่ค่อยไป หลุดโค้งง่าย
  • การขับเคลื่อนแบบล้อหลัง (Rear Wheel Drive: RWD)
    • ข้อดี กระจายน้ำหนักได้ดี กำลังเครื่องยนต์สูง
    • ข้อเสีย เวลาเข้าโค้งอาจเกิดอาการท้ายปัด 
  • การขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ AWD (All wheel drive)
    • ข้อดี สมรรถนะในการยึดเกาะถนนดีเยี่ยม
    • ข้อเสีย เปลืองน้ำมัน เสียอัตราเร่งเล็กน้อย
  • การขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ 4WD (Four-wheel drive)
    • ข้อดี ลดหนี้แรงส่ง สามารถวิ่งได้ทุกสภาพถนน บรรทุกน้ำหนักได้เยอะ
    • ข้อเสียค่าซ่อมบำรุงแพง

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.unlockmen.com , https://www.unlockmen.com , https://th.carro.co

ลงทะเบียนรับส่วนลด

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า
    Chat with us!
    Instagram